Training Project R.2 RESUME

ส.2 การสร้างสรรค์สมมติฐาน RESEARCH

      จากแบบสรุปผลการสัมภาษณ์และผลการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นทางการออกแบบ
ตามข้อที่ 6. ภาพรวมความต้องการงานออกแบบ (Design Brief) การพัฒนาแบบตราสัญลักษณ์และฉลากบรรจุภัณฑ์ใหม่ ( Re design)

Mood & Feel (อารมณ์และความรู้สึกที่ต้องการให้ออกแบบหรือพัฒนา)

สรุปได้ว่า ผู้ประกอบการต้องการให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะ หลากสีสันสนุก ดูทันสมัย ขายเจาะกลุ่มเกือบตลาดบน ค่อนข้างจริงจังใช้งานง่าย ดูเข้มแข็งนิดหน่อย และขายได้ทุกเพศทุกวัย

LOGO SKETCH DESIGN
ที่มา ดนุนัย พลศรี
เรนเดอร์เป็น VECTOR

 ที่มา : ดนุนัย พลศรี
แบบที่ได้รับเลือกให้ทำการพัฒนา


 แบบที่ 1
ที่มา : ดนุนัย พลศรี

แบบที่ 2
ที่มา : ดนุนัย พลศรี

แบบที่3
ที่มา : ดนุนัย พลศรี
          
เหตุผลที่ถูกคัดเลือกคือ มีรูปแบบ ที่น่าสนใจ และสื่อตรงถึงผลิตภัณฑ์โดยตรง แต่ยังต้องนำไปปรับเพิ่มเติมให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น (คุณ ชลายุทธ โกมลนิมิ : Art Director)

Logo Development


แบบที่ 1 ที่พัฒนา
ที่มา : ดนุนัย พลศรี


แบบที่ 2 ที่พัฒนา
ที่มา : ดนุนัย พลศรี
แบบที่ 3 ที่พัฒนา
ที่มา : ดนุนัย พลศรี

แบบโลโก้ที่สรุป
แบบที่สรุป
ที่มา : ดนุนัย พลศรี

มาตรฐานแบบการใช้ตราสัญลักษณ์ SUGAHUT

Label Sketch Design
แบบที่ 1 : โดย ดนุนัย พลศรี
แบบที่ 2 : โดย ดนุนัย พลศรี
แบบที่ 3 : โดย ดนุนัย พลศรี

         แนวคิดในการออกแบบ
        “ในการออกแบบได้ใช้รูปวัตถุดิบจริง ทั้งมะพร้าว กะทิ ทุเรียน และตกแต่งด้วยใบมะพร้าว ใช้สีเขียว เหลือง และน้ำตาล มาใช้เพื่อสื่อถึงผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน โดยจัดวางให้อ่านง่ายไล่สี ด้วยเทคนิค “Gradient” แบบเรียบๆใหดูทันสมัยสอดคล้องกับวัตถุดิบจริง เหมาะกับการขายตลาดบน โดยสามารถโหลดภาพจาก www.shutterstock.com มาสร้างสรรค์ได้”

Label Design Illustration

แบบที่ 1 : โดย ดนุนัย พลศรี
แบบที่ 2 : โดย ดนุนัย พลศรี
แบบที่ 3 : โดย ดนุนัย พลศรี

Label Design Development
          “Art Director ได้แนะให้ใช้แบบที่1 เป็น Label สรุปพร้อม ปรับกราฟิกให้ดูมีความเป็นไทยมากขึ้นด้วยการเล่น “Texture”แบบอักษรและลวดลาย อัตลักษณ์เล็กๆน้อยเพื่อให้ดูน่าสนใจ”
แบบที่สรุป : โดย ดนุนัย พลศรี

3D Model Creation By 3DMAX

“การขึ้นโครงร่างบรรจุภัณฑ์ 3 มิติ” ที่มา : ดนุนัย พลศรี
        
        ใช้เครื่องมือ “Line”สร้างเส้นโครงร่างตัวบรรจุภัณฑ์ แล้ว เข้าไปที่ “Edit Poly”ปรับรูปร่างให้เข้าสู่ แบบ 3มิติ โดยกด Extrude ส่วนบนกระป๋องลงให้เป็นขอบกระป๋อง

“การขึ้นโครงร่างบรรจุภัณฑ์ 3 มิติ” ที่มา : ดนุนัย พลศรี

        เลือกอาร์ตเวิร์คเพื่อมาทำเป็น “Material”ทำการ “Map” บรรจุภัณฑ์ ด้วยเครื่องมือ“Cylindrical”แล้วปรับให้แกนกับองศาให้เข้ากับตัวบรรจุภัณฑ์ 3 มิติ โดยเว้นส่วนก้นและฝากระป๋อง

“การสร้างฉากกั้นสำหรับจัดแสง”ที่มา : ดนุนัย พลศรี

                ส่วนฝาและส่วนก้นบรรจุภัณฑ์ ใส่ Map เช่นเดียวกับ อาร์ตเวิร์ค จากนั้นใช้ “Line”สร้างเส้นขึ้นมาเพื่อเป็นฉากสำหรับจัดแสงคล้ายการถ่ายภาพปรับมุมให้โค้งมนแล้วสร้างให้เกิดความหนาขึ้น

“การสร้างฉากกั้นสำหรับจัดแสง”ที่มา : ดนุนัย พลศรี

        ปรับตำแหน่งให้วัตถุอยู่ตรงกลางฉากให้มากที่สุด และขยายฉากข้างออกไป โดยดูจากแกน พร้อมปรับด้านของตัววัตถุ ให้หันมาทางด้านหน้า จากนั้นจึงจัดแสง

“การเปลี่ยนสีฉากให้เหมาะสมสำหรับการRender” ที่มา : ดนุนัย พลศรี

        ปรับสีฉาก ให้สว่างมากขึ้น แล้วจัดดวงไฟ ให้ส่องไปยังวัตถุ เพื่อที่จะทำการเรนเดอร์ภาพ

“การเรนเดอร์ ภาพสามมิติ”ที่มา : ดนุนัย พลศรี

        หลังจากที่จัดแสงเสร็จแล้ว ก็ทำการเรนเดอร์ ด้วยการกด “Shift+Q” โดยเลือกไฟล์และความละเอียดของภาพที่ต้องการ

“การเรนเดอร์ ภาพสามมิติ”ที่มา : ดนุนัย พลศรี

        ช่วงนี้จะค่อนข้างใช้เวลาในการเรนเดอร์ ตามความละเอียดที่เรากำหนด เราสามารถเปลี่ยนมุมของภาพด้วยการกด “Alt” ที่รูปสัญลักษณ์กล่องเพื่อปรับมุมภาพที่จะเรนเดอร์ใหม่

No comments:

Post a Comment